วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

บึงฉวาก
















































































บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติแต่เดิมเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ห้ามล่าเป็นสัตว์จำพวกนก มีมากกว่า 50 ชนิด
ปัจจุบันได้จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 50 ปี โดยมีการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ ีตู้ปลาน้ำจืด ตู้ปลาน้ำเค็ม บ่อ
จระเข้ และอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ













ชื่อเดิมของบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ คือ บึงบัวแดง






ประวัติ
พ.ศ. 2525

-นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการ
จังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้มีแผนพัฒนาหมู่บ้านรอบบังฉวากเพราะเป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีนกนานาชนิด จึงนำเรื่องเสนอกรมป่าไม้ เพื่อให้เป็นพื้นที่เขตห้ามล้าสัตว์ป่า
-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศเรื่อง กำหนดให้พื้นที่บริเวณบึงฉวาก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และตำบลปากน้ำ ตำบลเดิมบาง ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยกำหนดชนิดสัตว์ป่าที่ห้ามล้าไว้ 59 ชนิด เป็นนก 58 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 1 ชนิด (นากทุกชนิดในวงศ์ย่อย)
พ.ศ. 2526
ตามพระราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์แบบ
พ.ศ. 2537
-นายบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโครงการบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539
-เกิดศูนย์พัฒนาการจัดการ
สัตว์ป่าบึงฉวาก สังกัดสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจค้นคว้าวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ดำรงสายพันธุ์สัตว์ป่า พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ฯลฯ
-ต่อมาได้สร้างกรงนกขนาดใหญ่และสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ
พ.ศ. 2539
ได้จัดสร้างตู้ปลา 30 ตู้ มีปลาน้ำจืดกว่า 50 ชนิด สร้างบ่อจระเข้
พ.ศ. 2541
ได้จัดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตาม
อนุสัญญาแรมซาร์ คือ เป็นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีน้ำขังถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่น้ำนิ่ง น้ำไหว ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร
พ.ศ. 2542
สร้างอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติ
พ.ศ. 2544
ได้ทำการเปิดให้ประชาชนเข้าชมในอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติได้เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2544
วางศิลาฤกษ์อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ภายในอาคารมีตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ ตู้ปลาขนาด 1 ตัน 30 ตู้ มีปลาน้ำจืด 60 ชนิด ปลาทะเลสวยงาม 7 ตู้
พ.ศ. 2546
อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสร้างแล้วเสร็จ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เปิดให้ประชาชนเข้าชมอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ








































































































บึงฉวาก อ.เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี
บึงฉวากอยู่ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำท่าจีน ที่เกิดการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงถูกแยกตัวออกมาเป็นบึงใหญ่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศอันหลากหลาย ภายในพื้นที่กว่า 1,700 ไร่ อุดมไปด้วยพรรณไม้น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะบัวแดง ในยามเช้าจะชูช่อบาน อวดโฉมเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ นักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์มาตั้งแคมป์พักได้ด้วยสภาพแวดล้อมของบึงที่มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้น้ำนานาชนิด เช่น บัว กก อ้อ ธูปฤาษี ผักตบ สาหร่ายหลากชนิด เป็นต้น จึงเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำนกทุ่งประมาณ 70 ชนิด มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพที่ผ่านมาอาศัยหรือพักพิงชั่วคราว อาทิ อีโก้ง นกกาบบัว และนกอพยพอย่างนกเป็ดแดงที่มาในช่วงฤดูหนาว นกปากห่างที่มาในช่วงเดือนตุลาคม นกคูท และเป็ดเปียที่จัดเป็นนกอพยพที่หาดูได้ยากก็เคยพบเห็นที่นี่ รวมถึงเป็ดแดงจำนวนนับหมื่นๆ ตัวในช่วงฤดูหนาว นอกนั้นก็มีเป็ดคับแค เป็ดผี นกอีโก้ง นกอีแจว นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระยาง ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ทางการจึงประกาศให้พื้นที่ของบึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า นอกจากนี้บึงฉวากยังเป็นแหล่งรวมปลานานาพันธุ์ เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาสลิด ฯลฯ ปัจจุบันบึงฉวากได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามสนธิสัญญาแรมซาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 และประกาศเป็นเขตห้ามล่าเมื่อปี พ.ศ. 2525 บึงฉวากจึงมีความสำคัญทั้งในแง่ที่เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางเกษตร ทั้งยังได้จัดสรรพื้นที่โดยรอบบึงฉวากเพื่อการศึกษาและวิจัย อาทิ สวนรวมพันธุ์ไก่ บ่อจระเข้น้ำจืด อุทยานผักพื้นบ้าน สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ฯลฯ






















อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 64 กม. เขตติดต่อกับ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็นบึงขนาดใหญ่มาก มีเนื้อที่ประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ในเขต อำเภอเดิมบางนางบวช 1,700 ไร่ ในบริเวณบึงเต็มไปด้วยบัวแดง ช่วงตอนเช้าจะบานสวยงาม และมีนกเป็ดน้ำอาศัยอยู่จำนวนมาก มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน






























































































































































































































































































































































































































































































































อ้างอิง
http://www.suphanburi.go.th/











































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น