วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

ความรัก




























































































































ความรัก เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกเกี่ยวกับ การชอบ, การผูกพันทางจิตใจกับบางสิ่งบางอย่าง คำว่ารักมีความหมายในหลายแง่มุมซึ่งทั้งลึกซึ้งและกว้างขวาง ต่างคนต่างมีความรักต่อผู้อื่นแตกต่างกัน ดังนั้นจึงยากต่อการอธิบายและให้คำนิยามคำว่ารักแบบเฉพาะเจาะจง รักเป็นความสัมพันธ์ซึ่งไม่ได้อยู่ลอยๆ หากมีรักก็จะต้องมีผู้ซึ่งเป็นฝ่ายรักและอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ถูกรัก ความรักเป็นนามธรรมจึงไม่อาจมองเห็น, ไม่อาจจับต้อง ไม่อาจวัดปริมาณได้. โดยทั่วไปแล้ว ความเสียหายหรือการจากไปของสิ่งรักจะนำมาซึ่งความโศกเศร้าแก่ผู้รัก เนื่องจากผู้รักได้ให้คุณค่าแก่สิ่งนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความโศกเศร้าจะมากหรือน้อยขึ้นกับคุณค่าที่ผู้รักกำหนดให้กับสิ่งที่ตนรักนั้น ความรักไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงมนุษย์ สัตว์ต่างๆ ก็แสดงปรากฏการณ์ทางความรักให้เห็น เช่น การปกป้องลูก
นักปราชญ์ทั่วโลกพยายามหาความหมายที่แน่นอน หรือหานิยามของคำว่าความรัก แต่ไม่มีใครสามารถหาข้อสรุปได้ว่าความรักนั้นมีนิยามเช่นไร
เทวดาที่เกี่ยวข้องกับความรัก คือ
กามเทพของศาสนาฮินดู และคิวปิดในตำนานความเชื่อของกรีก
สัญลักษณ์ที่หมายถึงความรัก คือ รูปหัวใจสีแดง, การชูมือออกมา แล้วกางเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วก้อย ซึ่งหมายถึง ฉันรักเธอ (I Love You) นอกจากนี้บางทีดอกกุหลาบก็หมายถึงความรักด้วย
วันแห่งความรัก (
วันวาเลนไทน์) คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งมักจะมีการแสดงความรักโดยการให้ของขวัญหรือให้ดอกกุหลาบ โดยถือว่าดอกกุหลาบนั้นเป็นดอกไม้แห่งความรัก













พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่ารักไว้ว่า เป็นคำกริยา มีนิยามว่า "ชอบอย่างผูกพันพร้อมด้วยชื่นชมยินดี"
ข้างต้นกล่าวไว้ว่าความรักมีหลายแง่มุมแตกต่างกัน เราสามารถเห็นความแตกต่างนี้ได้อย่างชัดเจนหากแบ่งความรักออกเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้คู่กรณีของความรักเป็นเกณฑ์












รูปแบบของความรัก
ความรักต่อบุคคล:
ความรักต่อทายาท - รักที่พ่อแม่มีให้กับลูกผู้ซึ่งตนให้กำเนิด
ความรักต่อบุพการี - รักที่ลูกมีต่อพ่อแม่
ความรักต่อญาติพี่น้อง - รักที่มีระหว่างญาติพี่น้อง
ความรักต่อเพศตรงข้าม - รักที่อาจมีอารมณ์ และ/หรือ ความรู้สึกทางเพศมาเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้
ความรักต่อเพื่อน - รักที่มีระหว่างผองเพื่อน
ความรักต่อสถาบัน - รักที่ผู้รักมีต่อสถาบันที่ตนมีส่วนผูกพัน เช่น รักชาติบ้านเมือง, รักศาสนา, รักพระมหากษัตริย์, รักโรงเรียน, รักภาษาไทย ฯลฯ
ความรักต่อสิ่งต่างๆ - รักที่ผู้รักมีต่อสิ่งซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือมีส่วนผูกพัน เช่น รักรถยนต์, รักหนังสือ, รักรถไฟ, รักเพลงคลาสสิก, รักฟุตบอล ฯลฯ
ความรักต่อตนเอง - รักที่ผู้รักมีต่อตนเอง
จากการแบ่งนี้ช่วยให้เราเห็นความแตกต่าง เช่น ความรักที่เรามีต่อพ่อแม่นั้นแตกต่างจากความรักที่เรามีต่อแฟน. ความรักต่อพ่อแม่ของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ความรักจึงยากต่อการวัดหรือการเปรียบเทียบ
ความรักในมุมมองของวิทยาศาสตร์
ดูบทความหลักได้ที่
ความรัก (วิทยาศาสตร์)
ความรัก คือ ความรู้สึกต้องการอยากอยู่ด้วยของสิ่งมีชีวิต
ทางเคมี
การศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทวิทยา ได้แสดงหลักฐานให้เห็นว่า เวลาที่คนเรามีความรู้สึกรักใคร่นั้น จะมีสารเคมีบางตัวในสมองเช่น เทสทอสเตอโรน( Testosterone) , เอสโทเจน (Estrogen),โดฟามีน ( Dopamine ) สารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นและคงอยู่ไม่กี่สัปดาห์หรือเพียงไม่กี่เดือน
ทางจิตวิทยา
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
เครื่องพันธนาการของมนุษย์
รักแท้ - ความรักที่มีแต่การให้โดยไม่ต้องการสิ่งใดๆ ตอบแทน
ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่า "รักแท้" นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ หรือ เป็นเพียงแต่ช่วงอารมณ์ของคนๆ หนึ่งเท่านั้น
ความรักในมุมมองของศาสนา
ศาสนาพุทธ
ความรักคือความทุกข์ รักน้อยทุกข์น้อย รักมากทุกข์มาก ไม่รักเลยไม่ทุกข์เลย ที่ใดมีรักที่นั้นมีชีวิต
หากแต่คำกล่าวนี้ แท้จริงไม่ได้สื่อความว่าไม่ให้คนเรารักกัน แต่ความรักที่ให้แก่กันจะต้องเป็นความรักที่มอบให้อย่างบริสุทธิ์ใจอย่างมีเมตตา
ไม่คิดยึดติดในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียงหรือความรู้สึกต่อความรักนั้นๆ การแผ่เมตตาก็ถือเป็นความรักรูปแบบหนึ่ง
ศาสนาพุทธแบ่งความรัก (ปิยัง) เป็น 4 อย่าง คือ
ราคะ ความรักที่เกิดจากความต้องการทางเพศ
สิเนหา ความรักที่เกิดจากสัญชาติญาณ
เปมัง ความรักที่เกิดจากความผูกพัน ช่วยเหลือกันมา
เมตตา ความรักที่เกิดจากการฝึกให้คุณธรรมเกิดมีขึ้นใจจิตใจ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ถือว่าความรักคือสิ่งสูงสุด คือทุกสิ่ง คือพระลักษณะของพระเจ้า คือพระเจ้า พระเจ้าคือความรัก ความรักของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุด
ความรักย่อมอดทนนาน และกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัวไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียวไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีในการประพฤติผิดแต่ชื่นชมยินดีในความประพฤติชอบความรักให้ทนได้ทุกอย่าง แม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอและทนต่อทุกอย่าง ความรักไม่มีวันสิ้นสุด
เปรียบเสมือนความรักที่พระเยซูมีต่อเรา โดยลงมาตายบนไม้กางเขน ที่หาค่าไม่ได้ และไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่ปรารถนาจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้กลับคืนดีกับเราอีก
นอกจากนี้ ความรักเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ไม่มีรักใดจะยิ่งใหญ่กว่านี้อีก คือการที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหายของตน''
และ
เหตุฉะนั้นจึงตั้งอยู่ 3 สิ่ง ความเชื่อ ความหวังใจและความรัก แต่ความรักยิ่งใหญ่ที่สุด
นอกจากนั้นพระคัมภีร์ยังเตือนว่าการมีทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็ดี แต่ถ้าหากปราศจากความรักแล้วจะมีคุณค่าก็หามิได้เลย
แม้ข้าพเจ้าจะพูดภาษาแปลกๆที่เป็นภาษามนุษย์หรือทูตสวรรค์ได้ แต่ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าเป็นเหมือนฆ้องหรือฉาบที่กำลังส่งเสียง แม้ข้าพเจ้าจะเผยพระวจนะได้ จะรู้ความล้ำลึกทุกอย่างและมีความรู้ทั้งสิ้น และแม้จะมีความเชื่อมากยิ่งที่จะย้ายภูเขาไปได้ แต่ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไรเลย แม้ข้าพเจ้าจะบริจาคสิ่งของของข้าพเจ้าทุกอย่างหรือยอมให้เอาตัวไป เผาไฟ(สำเนาโบราณบางฉบับว่า เอาตัวไปเพื่อข้าพเจ้าจะอวดได้) แต่ไม่มีความรัก ก็จะไม่เป็นประโยชน์กับข้าพเจ้า ...
ความรักไม่มีวันเสื่อมสูญ แม้การเผยพระวจนะก็จะเสื่อมสลายไป แม้การพูดภาษาแปลกๆก็จะเลิกพูดกัน แม้วิชาความรู้ก็จะเสื่อมสลายไป...
พระองค์เอง ยังทรงย้ำอีกว่า คนที่เป็นสาวกของพระองค์ต้องมีความรัก หากไม่มีความรัก ไม่ใช่สาวกของพระองค์
เราให้บัญญัติใหม่ไว้กับพวกท่าน คือให้รักซึ่งกันและกัน เรารักพวกท่านมาแล้วอย่างไร ท่านก็จงรักกันและกันด้วยอย่างนั้น ถ้าท่านรักกันและกัน ดังนี้แหละทุกคนก็จะรู้ว่าท่านเป็นสาวกของเรา
ความรักในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ไม่ใช่การตามใจ แต่คือ การเตือนสติกันด้วยความรักด้วย เพื่อมุ่งปรารถนาให้คนๆนั้นกลับตัวกลับใจเสียใหม่ในเรื่องที่ทำผิด
เรารักผู้ใดเราก็ตักเตือนและตีสอนผู้นั้น เหตุฉะนั้นจงมีความกระตือรือร้น และกลับใจเสียใหม่
นี่แน่ะ เรายืนเคาะอยู่ที่ประตู ถ้าผู้ใดได้ยินเสียงของเราและเปิดประตู เราจะเข้าไปหาผู้นั้นและจะรับประทานอาหารร่วมกับเขา และเขาจะรับประทานอาหารร่วมกับเรา
ดูเพิ่ม
รักบริสุทธิ์
รักสามเส้า
อกหัก
แหล่งข้อมูลอื่น
"ฉันรักคุณ" ในภาษาอื่น จากวิกิพจนานุกรม
รักอย่างไรให้เป็นตามแนวพระพุทธศาสนา

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

บึงฉวาก
















































































บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติแต่เดิมเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ห้ามล่าเป็นสัตว์จำพวกนก มีมากกว่า 50 ชนิด
ปัจจุบันได้จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 50 ปี โดยมีการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ ีตู้ปลาน้ำจืด ตู้ปลาน้ำเค็ม บ่อ
จระเข้ และอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ













ชื่อเดิมของบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ คือ บึงบัวแดง






ประวัติ
พ.ศ. 2525

-นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการ
จังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้มีแผนพัฒนาหมู่บ้านรอบบังฉวากเพราะเป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีนกนานาชนิด จึงนำเรื่องเสนอกรมป่าไม้ เพื่อให้เป็นพื้นที่เขตห้ามล้าสัตว์ป่า
-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศเรื่อง กำหนดให้พื้นที่บริเวณบึงฉวาก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และตำบลปากน้ำ ตำบลเดิมบาง ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยกำหนดชนิดสัตว์ป่าที่ห้ามล้าไว้ 59 ชนิด เป็นนก 58 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 1 ชนิด (นากทุกชนิดในวงศ์ย่อย)
พ.ศ. 2526
ตามพระราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์แบบ
พ.ศ. 2537
-นายบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโครงการบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539
-เกิดศูนย์พัฒนาการจัดการ
สัตว์ป่าบึงฉวาก สังกัดสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจค้นคว้าวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ดำรงสายพันธุ์สัตว์ป่า พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ฯลฯ
-ต่อมาได้สร้างกรงนกขนาดใหญ่และสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ
พ.ศ. 2539
ได้จัดสร้างตู้ปลา 30 ตู้ มีปลาน้ำจืดกว่า 50 ชนิด สร้างบ่อจระเข้
พ.ศ. 2541
ได้จัดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตาม
อนุสัญญาแรมซาร์ คือ เป็นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีน้ำขังถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่น้ำนิ่ง น้ำไหว ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร
พ.ศ. 2542
สร้างอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติ
พ.ศ. 2544
ได้ทำการเปิดให้ประชาชนเข้าชมในอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติได้เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2544
วางศิลาฤกษ์อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ภายในอาคารมีตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ ตู้ปลาขนาด 1 ตัน 30 ตู้ มีปลาน้ำจืด 60 ชนิด ปลาทะเลสวยงาม 7 ตู้
พ.ศ. 2546
อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสร้างแล้วเสร็จ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เปิดให้ประชาชนเข้าชมอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ








































































































บึงฉวาก อ.เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี
บึงฉวากอยู่ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำท่าจีน ที่เกิดการทับถมของตะกอนดินโคลน จึงถูกแยกตัวออกมาเป็นบึงใหญ่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศอันหลากหลาย ภายในพื้นที่กว่า 1,700 ไร่ อุดมไปด้วยพรรณไม้น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะบัวแดง ในยามเช้าจะชูช่อบาน อวดโฉมเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ นักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์มาตั้งแคมป์พักได้ด้วยสภาพแวดล้อมของบึงที่มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้น้ำนานาชนิด เช่น บัว กก อ้อ ธูปฤาษี ผักตบ สาหร่ายหลากชนิด เป็นต้น จึงเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำนกทุ่งประมาณ 70 ชนิด มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพที่ผ่านมาอาศัยหรือพักพิงชั่วคราว อาทิ อีโก้ง นกกาบบัว และนกอพยพอย่างนกเป็ดแดงที่มาในช่วงฤดูหนาว นกปากห่างที่มาในช่วงเดือนตุลาคม นกคูท และเป็ดเปียที่จัดเป็นนกอพยพที่หาดูได้ยากก็เคยพบเห็นที่นี่ รวมถึงเป็ดแดงจำนวนนับหมื่นๆ ตัวในช่วงฤดูหนาว นอกนั้นก็มีเป็ดคับแค เป็ดผี นกอีโก้ง นกอีแจว นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกระยาง ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ทางการจึงประกาศให้พื้นที่ของบึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า นอกจากนี้บึงฉวากยังเป็นแหล่งรวมปลานานาพันธุ์ เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาสลิด ฯลฯ ปัจจุบันบึงฉวากได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามสนธิสัญญาแรมซาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 และประกาศเป็นเขตห้ามล่าเมื่อปี พ.ศ. 2525 บึงฉวากจึงมีความสำคัญทั้งในแง่ที่เป็นแหล่งน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางเกษตร ทั้งยังได้จัดสรรพื้นที่โดยรอบบึงฉวากเพื่อการศึกษาและวิจัย อาทิ สวนรวมพันธุ์ไก่ บ่อจระเข้น้ำจืด อุทยานผักพื้นบ้าน สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ฯลฯ






















อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 64 กม. เขตติดต่อกับ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็นบึงขนาดใหญ่มาก มีเนื้อที่ประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ในเขต อำเภอเดิมบางนางบวช 1,700 ไร่ ในบริเวณบึงเต็มไปด้วยบัวแดง ช่วงตอนเช้าจะบานสวยงาม และมีนกเป็ดน้ำอาศัยอยู่จำนวนมาก มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน






























































































































































































































































































































































































































































































































อ้างอิง
http://www.suphanburi.go.th/